มอลโตเดกซ์ตริน สารให้ความหวาน ทดแทนไขมัน สุขภาพ Maltodextrin Food Gard
ชื่อทั่วไป Maltodextrin มอลโตเดกซ์ตรินDE 10-12
แหล่งกำเนิดสินค้า ประเทศจีน
ประเภทอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร
ลักษณะสินค้า ผงละเอียดสีขาว
สูตรทางเคมี C₁₂H₂₄O₁₁
การบรรจุและเก็บรักษา เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
ข้อมูลทั่วไปและการใช้งาน
มอลโทเดกซ์ทริน (maltodextrin) คือคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) ประเภท polysaccharide ที่ได้จากการย่อยโมเลกุลของสตาร์ซ (starch) บางส่วนให้เป็นสายสั้นๆ ของน้ำตาลกลูโคส (glucose) มีลักษณะเป็นผงหรือเกล็ดสีขาวไม่มีรส หรือมีรสหวานเล็กน้อยสามารถละลายในน้ำได้ดี
ประเภทของมอลโทเดกซ์ทริน
Maltodextrin แบ่งได้ตามค่าสมมูลเด็กซ์โทรส (Dextrose Equivalent, DE) มอลโทเดกซ์ทรินที่มีค่า dextrose equivalent ต่ำ มีค่าอยู่ระหว่าง 5-20 maltodextrin ที่มีค่าDE สูง แสดงว่าโมเลกุลของสตาร์ซถูกย่อยได้น้ำตาลกลูโคสมาก จะมีความหวานมากกว่า maltodextrin ที่มีค่า DE
การใช้มอลโทเดกซ์ทริน (maltodextrin) ในผลิตภัณฑ์อาหาร
มอลโทเดกซ์ทริน (maltodextrin) ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารอย่างขว้างขวาง ในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารสำหรับ ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาหารไขมันต่ำ ในผลิตภัณฑ์อาหารแห้ง ประเภทอาหารผง เช่น เครื่องดื่มผง เครื่องปรุงรสชนิดผง
การใช้มอลโทเดกซ์ทรินในผลิตภัณฑ์อาหาร
- ใช้ในอาหาร เพื่อสุขภาพ โดย จัดเป็น Functional food ประเภท prebiotic
- เป็นสารให้ความหวาน (sweetener)
- ป้องกันการเกาะเป็นก้อน (anticaking agent)
- เพิ่มเนื้อ (bulking agent) เช่น เพื่มเนื้อในการทำแห้ง (dehydration) อาหารแห้ง ประเภท อาหารผง เครื่องดื่มผง ด้วยเครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย spray drier หรือ drum drier
- ห่อหุ้มสารให้กลิ่นรส (flavor encapsulation)
- เป็นสารทดแทนไขมัน (fat substitute) ในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ (bakery) ไอศกรีม มอลโตเดกซ์ตรินส่งผลต่อการลดจุดเยือกแข็งของไอศกรีมน้อยมาก และเกือบจะไม่มีรสหวานเลย ใช้ใส่เพื่อแทนที่น้ำตาลเด็กซ์โตรสบางส่วน จะทำให้ไอศกรีมละลายได้ช้าลง ปกติจะใส่อยู่ที่ประมาณ 20-40 g. ต่อไอศกรีมมิกซ์ 1 kg. อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ทั้งนี้ขึ้นกับองค์ประกอบอื่นๆ ในเนื้อไอศกรีมและความข้นของเนื้อไอศกรีมที่ต้องการ
คำถามน่ารู้ ???
มอลโตเดกซ์ตริน ใช้ทานเพิ่มน้ำหนักวันละกี่กรัมดี???
มอลโตเดกซ์ตรินเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ที่ให้พลังงานสูง เหมาะสำหรับคนที่ต้องการเพิ่มน้ำหนัก โดยปริมาณที่เหมาะสมในการรับประทานเพื่อเพิ่มน้ำหนักนั้น ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวและกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน โดยทั่วไปแล้ว แนะนำให้รับประทาน 2-3 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น หากมีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ก็ควรรับประทาน 120-180 กรัมต่อวัน
อย่างไรก็ตาม ปริมาณที่แนะนำนี้เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นเท่านั้น ปริมาณที่แท้จริงที่ควรรับประทานนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
- น้ำหนักตัวและส่วนสูง
- กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน
- เป้าหมายในการเพิ่มน้ำหนัก
หากต้องการเพิ่มน้ำหนักอย่างรวดเร็ว อาจรับประทาน 4-5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่ไม่ควรรับประทานเกิน 5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เพราะอาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้
นอกจากนี้ มอลโตเดกซ์ตรินควรรับประทานร่วมกับโปรตีนและไขมันในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างวิธีการรับประทานมอลโตเดกซ์ตรินเพื่อเพิ่มน้ำหนัก
- ผสมกับนมหรือน้ำผลไม้ ดื่มหลังอาหารหรือก่อนออกกำลังกาย
- ผสมกับเวย์โปรตีน ดื่มหลังออกกำลังกาย
- ผสมกับอาหารอื่นๆ เช่น ขนมปัง ข้าวโอ๊ต โยเกิร์ต
ข้อควรระวังในการรับประทานมอลโตเดกซ์ตริน
- ไม่ควรรับประทานเกิน 5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
- ผู้ที่แพ้แป้งหรือสารให้ความหวาน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ
สงสัยส่วนไหน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ line ID @ptkss.com (กด)