โซเดียม ซิเตรท : Sodium Citrate
ชื่อทั่วไป โซเดียมซิเตรท ผงวัตถุดิบ API , Trisodium citrate , ไตรโซเดียม , ซิเตรต ,กรดซิกติก , ซิโตโซดีน ,เกลือไตรโซเดียม
แหล่งกำเนิดสินค้า ประเทศจีน
ประเภทอาหาร ส่วนใหญ่ใช้เป็น วัตถุ เจือปนอาหารมักใช้เพื่อแต่งกลิ่นหรือเป็นสารกันบูด หมายเลข Eของมันคือ E331
ลักษณะสินค้า ผงผลึกสีขาว ละลายได้ในน้ำ
สูตรทางเคมี Na 3 C 6 H 5 O 7
การบรรจุและเก็บรักษา แบ่งบรรจุเป็นถุง เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท หลีกเลี่ยงแสงแดดและความร้อน
ข้อมูลทั่วไป Sodium Citrate
คือวัตถุเจือปนอาหารที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม มีคุณสมบัติและหน้าที่เป็น Buffering Agent รวมทั้งยังสามารถยับยั้งและชะลอการหมักกรดของเชื้อจุลินทรีย์ และลดการเสื่อมสภาพของอาหาร Sodium Citrate เป็นผลึกหรือผง ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีรสชาติเค็ม ผลิตจากกระบวนการหมัก ผลผลิตทางการเกษตรที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก สำหรับ Sodium citrate ช่วยความคุมความเป็นกรด-ด่างในผลิตภัณฑ์ อีกทั้งช่วยในการเพิ่มรสเค็มในผลิตภัณฑ์ ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น วุ้น แยม ขนมต่างๆ รวมทั้งไอศกรีม น้ำอัดลม นมผง ไวน์ ชีส เครื่องดื่มชูกำลัง ทำหน้าที่เป็นStabilizer agent ป้องกันการเกิด curd ในนมจากเอนไซม์ Rennin ซึ่งสามารถย่อยโปรตีนเคซีน ชนิด แคปปา หรือที่รู้จักกันคือ แคปปา-เคซีน (K-casein) ที่พบได้ในน้ำนมให้มีโมเลกุลเล็กลง โดยเรนนิน
จะย่อยเคซีนแล้วรวมกับแคลเซียมไอออน จากนั้นแยกตัวออกมาเป็นตะกอนขาวขุ่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการในบางผลิตภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณ์สำหรับทารก สามารถใส่ Sodium Citrate เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิด curd ในนมที่มีขนาดใหญ่ และแข็ง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาย่อยยาก ช่วยป้องกันไม่ให้ชิ้นเนื้อที่ถูกตัดแต่งเปลียนสีหรือเกิดกลิ่นที่ไม่พึ่งประสงค์ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ โดยทั่วไปผิวหนังจะมีความเป็นกรดเล็กน้อยระหว่าง 4-6 เนื่องมาจากต่อมไขมันใต้ผิวหนัง ต่อมเหงื่อ และเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่บนผิวหนัง ซึ่งความเป็นกรดเล็กน้อยนี้จะช่วยปกป้องผิวจากมลภาวะ หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น สารก่อภูมิแพ้ ฝุ่น แบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดการระคายเคือง เกิดสิว และริ้วรอย ดังนั้นจีงมีการใส่โซเดียมซิเตรทในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือใส่ในเครื่องสำอางค์ เพื่อควบคุมความเป็นกรด-ด่างในผลิตภัณฑ์ เพื่อความเหมาะสมต่อผิวหน้าและผิวกาย ทำหน้าที่เป็น Preservative โดยสามารถใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มี pH ช่วง 3 – 6.2 ได้ สามารถป้องกันการสลายตัวของผลิตภัณฑ์จากเชื้อจุลินรีย์ที่เจริญเติบโตได้ที่ pH สูง หรือป้องกันการปนเปื้อนจากการใช้สินค้าในแต่ละวันของผู้บริโภค
ใช้ได้กับผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม-ผิว หรือบำรุงผิว
การใช้งานหน้าที่ ของโซเดียมซิเตรท
- ทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์
- ป้องกันการตกตะกอน
- ควบคุมความเป็นกรด
- เป็นสารให้ความคงตัว
- เป็นอิมัลซิไฟเออร์
ปริมาณการใช้ : ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์หรือตามความต้องการ ปริมาณที่แนะนำ0.05-0.5%
โซเดียม ซิเตรท (Sodium Citrate)
เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสูตรทางเคมีคือ Na3C6H5O7 เป็นเกลือโซเดียมของกรดซิตริก มีลักษณะเป็นผงสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ละลายน้ำได้ดี
โซเดียม ซิเตรทมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- ทำหน้าที่เป็นสารควบคุมความเป็นกรด-ด่าง (Buffering Agent) ช่วยรักษาค่า pH ของผลิตภัณฑ์อาหารให้คงที่
- ทำหน้าที่เป็นสารปรุงแต่งรสชาติ ช่วยให้อาหารมีรสชาติเปรี้ยว
- ทำหน้าที่เป็นสารกันบูด ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด
- ทำหน้าที่เป็นสารอิมัลซิไฟเออร์ ช่วยทำให้ส่วนผสมของอาหารผสมเข้ากันได้ดี
- ทำหน้าที่เป็นสารช่วยจับสี ช่วยรักษาสีสันของอาหารให้คงที่
โซเดียม ซิเตรทมักใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารหลายประเภท เช่น
- เครื่องดื่ม เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลัง
- ผลิตภัณฑ์นม เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต
- ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น แหนม
- ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เช่น เค้ก คุกกี้
- ผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง เช่น อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้
โซเดียม ซิเตรทเป็นสารที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่าไม่ควรบริโภคโซเดียม ซิเตรทเกิน 3.7 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ข้อควรระวังในการใช้โซเดียม ซิเตรท
- ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 3.7 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไตควรหลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียม ซิเตรท
โดยสรุป โซเดียม ซิเตรทเป็นสารเติมแต่งอาหารที่มีความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
สงสัยส่วนไหน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ line ID @ptkss.com (กด)